Friday, April 27, 2012

การควบคุมโรคผู้ป่วย

หน้าที่ของพยาบาลประจำโรงงาน เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการตามนิยามกลุ่มอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิ คุ้มกันโรค และมีประวัติการได้รับวัคซีน/เซรุ่ม ภายใน 4 สัปดาห์ก่อนป่วย ให้การวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

กรณี โรงพยาบาลหรือห้องพยาบาลที่เป็นหน่วยรายงาน ใน โครงการประกันสุขภาพนั้น แจ้งให้ศูนย์ข้อมูลหัวหน้าทีม ทราบภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 สัปดาห์ตามแต่กลุ่มอาการ นับจากพบผู้ป่วย และเขียนบัตรรายงาน ส่งศูนย์ข้อมูล โดยเร็ว ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 1 สัปดาห์ตามแต่กลุ่มอาการ นับจากพบผู้ป่วย เพื่อศูนย์ข้อมูลจะได้แจ้งและรวบรวมบัตรรายงานผู้ป่วย ส่งศูนย์ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแจ้งและส่งต่อบัตรรายงาน ผู้ป่วยไปยังแผนกบุคคล

กรณี โรงงานอุตสาหกรรม ที่เป็นหน่วยรายงาน นอก โครงการประกันสุขภาพ แจ้งให้ศูนย์ข้อมูลแก่หัวหน้าทีม ทราบภายใน 24 ชั่วโมง หรือ 1 สัปดาห์ตามแต่กลุ่มอาการ นับจากพบผู้ป่วย และเขียนบัตรรายงาน ส่งให้ศูนย์ข้อมูลผู้ป่วย โดยเร็ว ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 1 สัปดาห์ตามแต่กลุ่มอาการ นับจากพบผู้ป่วยให้การรักษาผู้ป่วยหรือส่งต่อไปโรงพยาบาลในกรณีที่ต้องพบ แพทย์
บันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงในแบบสรุป  เก็บไว้ที่หน่วยงานเพื่อเป็นภาพรวมในระดับพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม วิเคราะห์และแปลผลข้อมูลเพื่อให้ทราบสถานการณ์การเกิดอาการภายหลังได้รับการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ และเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้เกี่ยวข้อง
ร่วมสอบสวนโรคและควบคุมต่อไป
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องพยาบาลประจำโรงงาน, แผนกบุคคล แผนกความปลอดภัย ผู้จัดการโรงงานอุตสาหกรรมนั้น
 เป็นต้น ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน

No comments:

Post a Comment

พยาบาลประจำโรงงาน | พยาบาลโรงงาน | พยาบาลประจำโรงงานชลบุรี | พยาบาลประจำโรงงานนครราชสีมา